Horticultural Research Institute, Department of Agriculture, Bangkok 10900, Thailand.
thothongsri@gmail.com
INSECT PEST OF DENDROBIUM ORCHID: Part 3, Contarinia maculipennis, บั่วกล้วยไม้
Dendrobium blossom was infested by C. maculipennis |
ในระยะเวลานี้ซึ่งเป็นฤดูฝนจะพบว่ากล้วยไม้สกุลหวายได้รับความเสียหายจากศัตรูพืชชนิดหนึ่ง นั้นคือ
บั่วกล้วยไม้ Contarinia maculipennis Felt หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ไอ้ฮวบ ทำให้ช่อดอกกล้วยไม้ไม่ได้คุณภาพของตลาดส่งออกต่างประเทศ และถูกคัดออกเพื่อขายเป็นไม้กำส่งตลาดในประเทศซึ่งมีราคาต่ำ
บั่วกล้วยไม้มีการรายงานการระบาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในสวนกล้วยไม้ที่ วัดดงเกตุ อ.สามพราน จ.นครปฐม จนกระทั้งในปัจจุบันแมลงชนิดนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่
บั่วกล้วยไม้เป็นแมลงวันขนาดเล็กมาก จึงยากแก่การสังเกตเห็น แมลงชนิดนี้ชอบเข้าทำลายดอกตูมของกล้วยไม้สกุลหวาย
C. maculipennis, Diptera |
อาการของดอกตูมที่ถูกแมลงเข้าทำลายในระยะแรกนั้นเห็นไม่ชัดเจน คือ กลีบดอกสีเขียวจะมีสีเปลี่ยนเป็นสีขาวโดยเฉพาะบริเวณโคนดอกที่เรียกว่า เดือย
Early stage of C. maculipennis infestation |
และต่อมากลีบของดอกจะผิดปกติ ไม่เรียบ บิดเบี้ยว
Distorted bud by C. maculipennis |
The distorted-rot bud by C. maculipennis |
แต่อาการของการทำลายจะเห็นชัดเจนเมื่อปรากฎมีรอยเน่าบริเวณโคนกลีบดอก ซึ่งอาการเน่าจะลามมากขึ้น หรือมีอาการฉ่ำน้ำ พองบวม และดอกจะหลุดจากก้านช่อในที่สุด ดังนั้นกว่าที่เกษตรกรจะรู้ว่าแมลงชนิดนี้เข้าทำลายพืชก็ต่อเมื่อดอกกล้วยไม้มีอาการเน่าหรือดอกร่วงแล้ว ดังนั้นจึงทำให้การป้องกันกำจัดไม่ทันเหตุการณ์
The bud is rot and will drop later which the last stage of infestation is clearly to observe but it is too late for control C. maculipennis |
ในบางครั้งอาการดอกเน่าอาจทำให้สับสนและเข้าใจผิดว่าเกิดจากโรคพืชหรือเชื้อราเข้าทำลายดอก ดังนั้นจึงควรตรวจดูหนอนที่อยู่ภายในดอกด้วย
แต่ถ้าได้คลี่กลีบดอกออกจะพบตัวหนอนขนาดเล็กสีขาวๆหรือสีเหลืองอยู่ภายในดอกจำนวนหลายตัว และบางครั้งหนอนเหล่านี้จะดีดตัวออกมาจากดอกอย่างเห็นได้ชัด
Larvae of C. maculipennis |
Pupae of C. maculipennis |