จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

8/22/2554

การวินิจฉัยอาการผิดปกติในกล้วยไม้ Orchid Symptoms and Diagnosis No.1

การวินิจฉัยอาการผิดปกติในกล้วยไม้

Symptoms and Diagnosis: orchid insect pest, diseases and problems…

 by Srisuda Thothong
 thothongsri@gmail.com


การวินิจฉัยอาการผิดปกติในกล้วยไม้ Sample No.: 001
Symptoms and Diagnosis: orchid insect pest, diseases and problems…

Sample No.: 001
Collected Date: August 19, 2011
Location: ลาดบัวหลวง อยุธยา
Orchid: Dendrobium เอียสกุล
Symptom:Yellow bud on Dendrobium inflorescences
อาการ:      ดอกตูมที่อยู่ส่วนกลางช่อดอกมีสีเหลือง ฝ่อและร่วง
Cause: chemical phytotoxic
สาเหตุ:  สารเคมี



ดอกตูมในช่อดอกมีอาการเหลือง ฝ่อและร่วง
ดอกตูมที่แสดงอาการเหลือง
มักจะเป็นดอกที่อยู่กลางช่อดอกเป็นส่วนมาก



ดอกตูมที่อยู่ปลายช่อดอก แสดงอาการเหลืองบ้าง
แต่เป็นส่วนน้อย และอาจทำให้เข้าผิดว่าเกิดจากเพลี้ยไฟ






ดอกบานที่อยู่โคนก้านช่อดอก
อาจแสดงอาการกลีบดอกไหม้ ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย
อาการกลีบดอกไหม้ อาจทำให้เข้าใจผิดว่ามีสาเหตุจากเชื้อโรค



พบรอยแผลที่กลีบดอก มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อยุบตัวและเป็นรอยไหม้



รอยแผลไหม้ มักเกิดบริเวณส่วนนี้ของดอกตูม



























































































อาการดอกดอกตูมเหลืองและฝ่อ (chemical-phytotoxic) ซึ่งอาการเป็นพิษไม่ได้เป็นแบบเฉียบพลัน แต่อาการเกิดขึ้นแบบช้าๆ ไม่รุนแรง
ลักษณะแผลที่เกิดขึ้นนั้นอาจทำให้เข้าผิดว่า "อาการดอกตูมเหลือง" นั้นเกิดจากแมลงดูดกินน้ำเลี้ยงซึ่งเป็นการเข้าใจไม่ถูกต้อง ส่วนที่ว่าสาเหตุเกิดจากโรคพืช นั้นไม่ใช่แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม Link to

1. phytotoxicity 

http://extension.psu.edu/plant-disease-factsheets/all-fact-sheets/phytotoxicity

http://www.agf.gov.bc.ca/pesticides/e_10.htm

2. Pesticide phytotoxicityhttp://www.negreenhouseupdate.info/index.php/component/content/article/205-pesticide-phytotoxicity

3. Phytotoxicity on Foliage Ornamentals Caused by Bactericides and Fungicides
http://plantpath.ifas.ufl.edu/takextpub/FactSheets/pp0030.pdf

 4. Scorching/Tip Burn: Phytotoxicity

http://plantdiagnostics.umd.edu/level3.cfm?causeID=441

5. Needled Evergreen Shrubs: Needles (Spots: Phytotoxicity)
http://plantdiagnostics.umd.edu/level3.cfm?causeID=848

6. Chemical Reference List
http://www.caes.uga.edu/Publications/pubDetail.cfm?pk_ID=7746


7. EVALUATION OF PLANT TOLERANCE TO CONTROL MEASURES
http://www.ctahr.hawaii.edu/haraa/evaluation.asp

8. Citric Acid Phytotoxicity Observations
http://www.ctahr.hawaii.edu/coqui/citric_pictures.asp

9. Dr. Arnold H. Hara (PRESENTATIONS)
http://www.ctahr.hawaii.edu/haraa/grower.asp

10. Dr. Arnold H. Hara (PUBLICATIONS)
http://www.ctahr.hawaii.edu/haraa/pubs.asp


สารเคมี ซึ่งจะเป็นสารประเภทไหนนั้นคงต้องไปพิจารณาที่การปฏิบัติ ได้แก่

1) น้ำมันที่ปนเปื้อนและแขวนลอยในน้ำที่ใช้ในสวน

2) สารกำจัดศัตรูพืช ใช้ในอัตราที่สูงมาก โดยเฉพาะสูตร EC หรือที่มี oil ผสมอยู่ หรืออาจใช้ในอัตราปกติ แต่ใช้หลายครั้งติดต่อกัน
3) สารกำจัดศัตรูพืช ถึงแม้จะเป็นสารยี่ห้อการค้าที่ใช้ประจำก็ตาม แต่สินค้าต่าง Lot.นั้นอาจใช้ตัวทำละลายต่างชนิดกันก็ได้ ซึ่งตัวทำละลายหรือ solvent ที่อยู่ในสารฆ่าแมลงจะมีผลทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อพืชได้  ดังนั้นผู้ใช้ควรจะบันทึกการใช้สารเคมีให้ละเอียดเพื่อที่จะได้ย้อนกลับไปดูสาเหตุและแก้ไขปัญหา




















อาการช่อดอกที่เกิด chemical phytotoxic 
จากการทดสอบประสิทธิภาพสารเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ 
ซึ่งดอกตูมเหลือง ฝ่อ โดยเปรียบเทียบกับช่อดอก
ในแปลงที่ไม่ใช้สารเคมี






ช่อดอกในแปลงที่ไม่ใช้สารเคมี


สารกำจัดศัตรูพืชที่ผลิตมาขายนั้นมีหลายสูตร ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่ผู้ใช้มักไม่ค่อยให้ความสนใจในชนิดสูตรของสารกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีหลากหลาย ดังนั้นเมื่อนำมาใช้ย่อมมีผลกระทบต่อพืชได้

อ่านเพิ่มเติม Link to

1. Formulation codes

http://www.dropdata.org/download/Formulation_codes.pdf


2. APPENDIX 2: PREPARATION (FORMULATION) TYPES AND CODES
http://www.oecd.org/dataoecd/45/61/1943914.pdf


3. CIPAC Methods and Publications: Formulation Code
http://www.cipac.org/cumindex/formcode.htm


4. Pesticide Formulation

5. Pesticides and Formulation Technology
http://www.ppp.purdue.edu/Pubs/ppp-31.pdf

6. International Codes for Technical and Formulated Pesticides
http://www.tactri.gov.tw/htdocs/regis/pestcode.pdf

7. Formulation of chemical and biological pesticides
http://www.dropdata.org/download/Formulation_6.pdf

8.Pesticide Formulations
http://ag.utah.gov/divisions/plant/pesticide/CoreManual/Chapter4.pdf

7/22/2554

INSECT PEST OF DENDROBIUM ORCHID : Part 3, Contarinia maculipennis, บั่วกล้วยไม้

SRISUDA THOTHONG

Horticultural Research Institute, Department of Agriculture, Bangkok 10900, Thailand.

thothongsri@gmail.com

INSECT PEST OF DENDROBIUM ORCHID: Part 3, Contarinia maculipennis, บั่วกล้วยไม้


Dendrobium blossom was infested by C. maculipennis  

ในระยะเวลานี้ซึ่งเป็นฤดูฝนจะพบว่ากล้วยไม้สกุลหวายได้รับความเสียหายจากศัตรูพืชชนิดหนึ่ง นั้นคือ
บั่วกล้วยไม้ Contarinia maculipennis Felt หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ไอ้ฮวบ  ทำให้ช่อดอกกล้วยไม้ไม่ได้คุณภาพของตลาดส่งออกต่างประเทศ และถูกคัดออกเพื่อขายเป็นไม้กำส่งตลาดในประเทศซึ่งมีราคาต่ำ
บั่วกล้วยไม้มีการรายงานการระบาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในสวนกล้วยไม้ที่ วัดดงเกตุ อ.สามพราน จ.นครปฐม จนกระทั้งในปัจจุบันแมลงชนิดนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่

บั่วกล้วยไม้เป็นแมลงวันขนาดเล็กมาก จึงยากแก่การสังเกตเห็น แมลงชนิดนี้ชอบเข้าทำลายดอกตูมของกล้วยไม้สกุลหวาย

C. maculipennis, Diptera


อาการของดอกตูมที่ถูกแมลงเข้าทำลายในระยะแรกนั้นเห็นไม่ชัดเจน คือ กลีบดอกสีเขียวจะมีสีเปลี่ยนเป็นสีขาวโดยเฉพาะบริเวณโคนดอกที่เรียกว่า เดือย


Early stage of  C. maculipennis infestation


และต่อมากลีบของดอกจะผิดปกติ ไม่เรียบ บิดเบี้ยว


Distorted bud by C. maculipennis

The distorted-rot bud by C. maculipennis
 
แต่อาการของการทำลายจะเห็นชัดเจนเมื่อปรากฎมีรอยเน่าบริเวณโคนกลีบดอก     ซึ่งอาการเน่าจะลามมากขึ้น หรือมีอาการฉ่ำน้ำ พองบวม และดอกจะหลุดจากก้านช่อในที่สุด  ดังนั้นกว่าที่เกษตรกรจะรู้ว่าแมลงชนิดนี้เข้าทำลายพืชก็ต่อเมื่อดอกกล้วยไม้มีอาการเน่าหรือดอกร่วงแล้ว ดังนั้นจึงทำให้การป้องกันกำจัดไม่ทันเหตุการณ์


 The bud is rot and will drop later which
the last stage of infestation is clearly to observe
but it is too late for control C. maculipennis

ในบางครั้งอาการดอกเน่าอาจทำให้สับสนและเข้าใจผิดว่าเกิดจากโรคพืชหรือเชื้อราเข้าทำลายดอก  ดังนั้นจึงควรตรวจดูหนอนที่อยู่ภายในดอกด้วย




แต่ถ้าได้คลี่กลีบดอกออกจะพบตัวหนอนขนาดเล็กสีขาวๆหรือสีเหลืองอยู่ภายในดอกจำนวนหลายตัว และบางครั้งหนอนเหล่านี้จะดีดตัวออกมาจากดอกอย่างเห็นได้ชัด


Larvae of C. maculipennis


Pupae of C. maculipennis


ข้อมูลของบั่วกล้วยไม้ C. maculipennis PDF  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมและสรุปอย่างย่อของงานวิจัย/บทความต่างๆที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการกล้วยไม้ได้มองเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ง่ายขึ้น และสามารถติดตามเนื้อหารายละเอียดหรือรายงานฉบับสมบูรณ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2/04/2554

Vanilla aphylla: Stem Rot, Fusarium sp.

Hobby Orchids: Pests and Diseases, No. 3

Author: SRISUDA THOTHONG, February 2011

E-mail: thothongsri@gmail.com






กล้วยไม้เถางูเขียว: โรคเน่าแห้งของกล้วยไม้




โรคเน่าแห้งในกล้วยไม้สกุลวนิลา












Figure 1. Vanilla showed rot symptom on stem.









Figure 2-3. Infected stem showed yellowish and brown lesions, which later and caused wilting of vine.









Figure 4. The symptom was characterized by dark-brown to black discoloration of stem.

1/06/2554

ศัตรูกล้วยไม้: เอกสารเพื่อการเผยแพร่ มกราคม-เมษายน 2554

1. ศัตรูกล้วยไม้สกุลหวาย: โรคกล้วยไม้
2. ศัตรูกล้วยไม้สกุลหวาย: แมลงศัตรูพืช ไรศัตรูพืช หอย วัชพืช
3. ศัตรูกล้วยไม้สกุลแวนด้า: โรคกล้วยไม้ วัชพืช ตะไคร่นำ
4. ศัตรูกล้วยไม้สกุลแวนด้า: แมลงและไรศัตรูพืช
5. กล้วยไม้รองเท้านารี: โรคและแมลงศัตรูพืช

Please E-mail : thothongsri@gmail.com for file.pdf